Site icon www.sothorn.net

การติดตั้ง CentOS 8

การติดตั้ง CentOS 8 นั้นไม่ได้ยาก ถ้าหากเรามีความเข้าใจการแบ่งพาร์ติชัน เพราะส่วนมากที่ติดตั้งไม่ผ่านนอกจากปัญหาฮาร์ดแวร์แล้ว ก็ติดตรงขั้นตอนการแบ่งพาร์ติชัน

สิ่งควรรู้ก่อนติดตั้ง CentOS 8

เซิร์ฟเวอร์ที่จะติดตั้ง เป็น BIOS หรือ UEFI

เซิร์ฟเวอร์รุ่นเก่าที่เป็น BIOS จัดการดิสก์ แบบ Master Boot Record มี Primary
Partition, Extended Partition และ Logical Partition ข้อจำกัดคือแบ่งเป็น
Primary Partition ได้แค่ 4 พาร์ติชัน หาต้องการมากกว่านั้น ก็ต้องแบ่งเป็น
Extended Partition แล้วแบ่ง เป็น Logical Partition และจัดการดิสก์ได้ไม่เกิน 2 TB ส่วน UEFI ใช้ GPT (GUID Partition Table) ในการจัดการดิสก์
แบ่งพาร์ติชั้นได้ไม่จำกัดขึ้นกับ OS รองรับดิสก์มากกว่า 2 TB

ความต้องการขั้นต่ำในการติดตั้ง CentOS 8
CPU x86_64 ต้องการ RAM อย่างน้อย 1.5 GB แนะนำ 1.5 GB ต่อ CPU
พื้นที่ดิสก์ อย่างน้อย 10 GB แนะนำที่ 20 GB

หลักการแบ่งพาร์ติชันของ CentOS 8

ความจริงแล้วการติดตั้งลีนุกซ์โดยทั่วๆ ไปที่เป็น BIOS แค่มีพาร์ติชัน / (รูท) กับพาร์ติชัน swap ก็สามารถติดตั้งได้แล้วครับ ส่วน UEFI ก็จะมีพาร์ติชัน /boot/efi เพิ่มมา แต่ในการใช้งานจริงๆ มันมีทั้งการรักษาความปลอดภัยของเซิร์ฟเวอร์ การทำดิสก์โควต้า เผื่อการแก้ปัญหาในอนาคต และอื่นๆ การมีแค่ 2 พาร์ติชันที่กล่าวมา ติดตั้งเล่นๆ ได้ แต่ไม่เหมาะกับนำไปใช้งานจริง ส่วนใครจะบอกว่าใช้อยู่ก็ใช้ได้ ก็ใช้ไปครับไม่มีปัญหาก็โชคดีไป การแบ่งพาร์ติชันเพื่อนำไปใช้งานจริง ผู้ติดตั้งจะต้องรู้ก่อนว่าเซิร์ฟเวอร์ที่เราติดตั้งใช้งานมีการเก็บข้อมูลที่ไหน จะได้แบ่งพาร์ติชันนั้นๆ
ให้มีพื้นที่มากพอสำหรับเก็บข้อมูล การเพิ่มขึ้นของข้อมูลจะได้ไม่มีผลกระทบกับพื้นที่ของระบบปฎิบัติการ เช่น Server เก็บข้อมูลที่ไดเรกทอรีไหน เช่น Webserver เก็บข้อมูลที่ /var/www/html MySQL หรือ MariaDB เก็บข้อมูลที่ /var/lib/mysql เราก็จะแบ่งพาร์ติชัน /var ออกมาต่างหาก หากให้บริการเก็บไฟล์ผ่าน SAMBA ก็แบ่ง /home แยกออกมา สำหรับ CentOS ก็เช่นกัน จะมีการแบ่งพาร์ติชันแบบอัตโนมัติมาให้ข้อดีคือสะดวก และง่ายในการติดตั้ง แต่ส่วนมากจะแบ่งพาร์ติชัน /home ไว้เป็นพาร์ติชันที่มีพื้นที่มากที่สุด หากใครทำเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้พื้นที่ที่ /home ก็โชคดีไป แต่ถ้าไม่ได้ใช้พื้นที่ /home ก็โชคร้ายไปครับ เช่นติดตั้ง MariaDB แบ่งพาร์ติชันอัตโนมัติ แบ่งพาร์ติชัน /home ขนาด 450 GB พาร์ติชัน / ขนาด 50GB ที่เก็บข้อมูลของ MariaDB อยู่ที่ /var/lib/mysql ซึ่งอยู่ภายใต้พาร์ติชัน / ก็สามารถใช้งานได้ไม่ถึง 50 GB นั้น ส่วน 450 GB ก็แบ่งทิ้งไว้เฉยๆ แต่ถ้าเกิดกรณีแบบนี้ขึ้นก็สามารถย้ายที่เก็บข้อมูลของ MariaDB ไปไว้ใน /home ได้ แต่ไม่กล่าวถึงในที่นี้

นอกจากนั้นการแบ่งพาร์ติชันแบบอัตโนมัติ ก็ยังพาร์ติชันมาแบบ LVM (Logical volume management) ถ้าผู้ติดตั้งมีความรู้เรื่อง LVM สามารถบริหารจัดการได้ก็ไม่เป็นไรครับใช้งานได้มีประโยชน์ แต่อนาคตหากฮาร์ดดิสก์มีปัญหาขึ้นมา ผู้ดูแลไม่สามารถใช้งาน LVM ได้ก็เป็นปัญหาอีก

ความเห็นส่วนตัว สำหรับการทำเซิร์ฟเวอร์ทั่วๆไป และลีนุกซ์มือใหม่ คิดว่าแบ่งพาร์ติชันแบบ Standard และแบ่งเองให้เหมาะสมกับการใช้งานน่าจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับงาน ขึ้นกับขนาดของงานด้วย เพราะแต่ละเทคโนโลยีที่เขาทำมาให้เราใช้มันมีความเหมาะสมในตัวมันเอง ผู้ติดตั้งเท่านั้นที่จะรู้ว่าอะไรเหมาะสมกับงาน
และเหมาะสมกับความรู้ความสามารถของผู้ติดตั้งเอง


พาร์ติชันของ CentOS ในคู่มือการติดตั้ง RHEL 8 ได้แนะนำการแบ่งพาร์ติชันที่เหมาะสมไว้ดังนี้

/boot พาร์ติชัน แนะนำขนาด 1 GB
/boot เป็นที่เก็บเคอร์เนล นั่นก็คือตัวระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ พาร์ติชันนี้แหละที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้ลีนุกซ์บูทได้

/ (รูท) พาร์ติชัน ขนาด 10 GB
/ เป็นไดเรกทอรีสูงสุดของระบบ ทุกๆ ไฟล์ที่เราติดตั้งจะเก็บอยู่ภายใน / ยกเว้นพาร์ติชันที่แบ่งออกมา
แต่พาร์ติชันเหล่านั้นก็จะเมาท์อยู่ภายใต้ /

Linux Filesystem

บนระบบปฏิบัติการ Windows เราคงคงคุ้นเคยกับ ระบบไฟล์ FAT FAT32 NTFS บนระบบปฎิบัติการลีนุกซ์มีระบบไฟล์ เช่น Ext3 Ext4 GFS GFS2 XFS ซึ่งแต่ละระบบไฟล์ก็มีก็ดีข้อด้อยต่างกันไป ปัจจุบัน CentOS 8 ใช้ XFS เป็นระบบไฟล์ตั้งต้น

XFS File System


swap พาร์ติชัน

swap พาร์ติชันเป็น virtual memory พาร์ติชันนี้จะถูกใช้งานเวลาที่ RAM ไม่พอ หลักการแบ่งพาร์ติชัน swap ดังตาราง

ขนาด swap พาร์ติชันที่เหมาะสม

ครั้งที่ผมอบรม RHCE ก็จะต้องมีการแบ่งพาร์ติชัน /tmp ออกมาด้วย ขนาด 256 MB แต่ปัจจุบันดูเหมือนจะไม่มีการให้ความสำคัญกับการแบ่งพาร์ติชัน /tmp แยกออกมา รวมถึงระบบการแบ่งพาร์ติชันอัตโนมัติของ CentOS เอง


ตัวอย่าง การติดตั้ง CentOS 8

เมื่อเราบูทด้วย DVD หรือ อุปกรณ์ USB สำหรับติดตั้ง CentOS 8 ก็จะเข้า
สู่หน้านี้ จะอยู่ที่เมนู Test this media \& install Linux 8.0.1905
ให้เลื่อนไปที่เมนู Install CentOS Linux 8.0.1905 แล้ว Enter

Install CentOS Linux 8.0.1905

ก็จะได้ดังรูปนี้

หลังจาก Enter

เลือกภาษาสำหรับการติดตั้ง

เลือกภาษาสำหรับการติดตั้ง

CentOS 8 มีภาษาไทยสำหรับขั้นตอนการติดตั้ง แต่ในตัวอย่างนี้ใช้ภาษาอังกฤษ

CentOS 8 รองรับภาษาไทย


สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดก่อนการติดตั้ง มี 3 หัวข้อใหญ่ คือ Localiztion Software และ System แต่ละหัวข้อใหญ่ก็จะมีหัวข้อย่อยดังรูป จะอธิบายไปทีละหัวข้อ

สิ่งที่ต้องทำทั้งหมดก่อนการติดตั้ง


KEYBOARD LAYOUT

Keyboard Layout


LANGUAGE SUPPORT

Language Support


CentOS 8 รองรับภาษาไทย

รองรับภาษาไทย


TIME & DATE
เลือก Asia Bangkok

TIME & DATE เลือก Asia Bangkok


INSTALLATION SOURCE
ติดตั้งจาก DVD หรือ อุปกรณ์ USB ก็ไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไร

INSTALLATION SOURCE


SOFTWARE SELECTION
เลือก Server with GUI และแนะนำให้เลือก Development Tools เพิ่มเข้ามาด้วย

SOFTWARE SELECTION

INSTALLATION DESTINATION
ระบบการติดตั้งจะมีการพาร์ติชันแบบอัตโนมัติมาให้แล้ว เพื่อความสะดวกเราจะใช้การพาร์ติชันแบบอัติโนมัติ แต่จะปรับให้ตรงกับความต้องการของเรา มาดูกันครับว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร


Storage Configuration
ให้เลือก Custom แล้วกดปุ่ม Done

Storage Configuration


ต่อจากนั้นเลือก Standard Partition หากใครต้องการใช้งาน LVM ก็เลือก LVM

Manual Partitioning

ต่อจากนัั้นคลิกที่ Click here to create them automaticaly

Manual Partitioning

ซึ่งจะได้ดังรูป จะเห็นว่ามีการแบ่งพาร์ติชัน /home ให้มีพื้นที่มากที่สุด
และมีการคำนวณพื้นที่ /boot, / และ swap มาให้เรียบร้อย

Manual Partitioning


ถ้าหากเราไม่ได้ใช้ /home เป็นที่เก็บข้อมูลก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่นตัวอย่างนี้จะเปลี่ยนเป็น Mount Point จาก /home เป็น /var แล้วกดปุ่ม Update Settings ก็จะได้ /var เป็นพาร์ติชันที่มีพื้นที่มากที่สุดสำหรับเก็บข้อมูลที่เราต้องการ

Manual Partitioning

เปลี่ยนจาก /home เป็น /var

Manual Partitioning}


ถ้าหากพื้นที่ดิสก์ของเราน้อย ก็สามารถลดขนาดของพาร์ติชัน / ลงมาได้อีก เพื่อไปเพิ่มพื้นที่ดิสก์ที่เราใช้งาน เช่น เราจะเปลี่ยน / จาก 50 GB เป็น 20 GB ก็เพียงพอต่อการใช้งานดังรูป

ถ้าพาร์ติชันเรียบร้อยให้กดปุ่ม Done

Manual Partitioning


คลิก Accept Changes เป็นอันเสร็จขั้นตอนการแบ่งพาร์ติชัน

Summary Of Changes


ยกตัวอย่างกรณีที่เป็น UEFI ก็จะมีพาร์ติชัน /boot/efi เพิ่มขึ้นมาอีก 1 พาร์ติชัน ดังรูป

UEFI Partition

KDUMP
เป็นการแสดงข้อมูลของ Kernel เวลาระบบมีปัญหา ปกติก็จะไม่เปิดใช้งาน
ส่วนใครจะเปิดไว้ก็ไม่มีปัญหาอะไร

KDUMP

\newpage

NETWORK & HOSTNAME
ตั้งชื่อ Host Name ผมตั้งชื่อ centos8.sohorn.net แล้วคลิกปุ่ม Apply หากลืม เปลี่ยนแปลงภายหลังได้ ตั้งค่า Network คลิกปุ่ม Configure…

Network & Hostname


ที่แถบ General คลิกเลือก Automatically connect to this network when it is available

Network & Hostname : General


ที่แถบ IPv4 หรือ IPv6 Settings ตั้งค่าตามที่จะใช้งาน

Network & Hostname : IPV4 Settings


ก็จะได้ค่าที่เราตั้งไว้ คลิกปุ่ม Done

Network & Hostname


SECUITY POLICY
ก็ไม่ต้องทำอะไร คลิกปุ่ม DONE

Security Policy

เมื่อตั้งค่าทุกอย่างเรียบร้อยปุ่มคลิกปุ่ม Begin Installation

Installation Summary : Begin Installtion


USER SETTING
ตั้งรหัสผ่านให้กับ User root

User Setting

ตั้งรหัสผ่านแล้ว ตั้งแล้วจำไว้ด้วยนะครับ ลืมขึ้นมาต้องมาแก้ปัญหาภายหลังยุ่งยากพอสมควร

root Password


สร้างผู้ใช้งานใหม่

Create User


รอจนกว่าจะติดตั้งเสร็จ

ระหว่างติดตั้ง


ระหว่างติดตั้ง

ระหว่างติดตั้ง


ติดตั้งเสร็จ คลิกปุ่ม Reboot

Reboot


เมื่อรีบูทใหม่

CentOS 8 Boot Menu


ยอมรับ License
คลิก License Information

License Information


คลิกปุ่ม FINISH CONFIGURATION

License Information


คลิก Not listed หากต้องการ Login ด้วย user root

CentOS 8 Login


Login ด้วย user root

user root


กรอกรหัสผ่านที่ตั้งไว้ตอนติดตั้ง

password

คลิกปุ่ม Next

Gnome initial setup : Language


คลิกปุ่ม Next

Gnome initial setup : Keyboard Layout

คลิกปุ่ม Next

Gnome initial setup : Location Services


คลิกปุ่ม Skip

Gnome initial setup : Online Accounts

คลิกปุ่ม Start Using CentOS Linux

Gnome initial setup : Ready to Go

\
คลิกปุ่ม X

Gnome Help


CentOS 8


CentOS 8

CentOS 8

การติดตั้ง CentOS 8 ก็เสร็จเรียบร้อยครับ

อ้างอิง :

Facebook Comments
Exit mobile version