Site icon www.sothorn.net

รู้จักฮาร์ดดิสก์

รู้จักฮาร์ดดิสก์ สำหรับฮาร์ดดิสก์เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักกันดีเพราะเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ขาดเสียไม่ได้ แต่จะมีใครที่เข้าใจถึงโครงสร้างภายในของฮาร์ดดิสก์ สำหรับผู้ใช้งานวินโดว์ ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้เพราะสุดท้ายแล้ว เราก็ได้ Drive C:\ Drive D:\ … แต่สำหรับลีนุกซ์แล้วหากไม่เข้าใจโครงสร้างของฮาร์ดดิสก์แล้ว ในขั้นตอนพาร์ติชันอาจทำให้งง และไม่สามารถแบ่งพาร์ติชันได้ สำหรับคอมพิวเตอร์ที่เป็น BIOS ก็จะจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ส่วนคอมพิวเตอร์ที่เป็น UEFI ก็จะจัดการฮาร์ดดิสด์ แบบ GUID

การจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ แบบ MBR

คอมพิวเตอร์ที่ใช้ BIOS จะมีการจัดการฮาร์ดดิสก์แบบ MBR ถ้าจะพูดถึงโครงสร้างอาจมีรายละเอียดปลีกย่อยกว่านี้ แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงในส่วนที่จำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ สำหรับการติดตั้งลีนุกซ์ ซึ่งมีดังนี้

Master Boot Record (MBR)

MBR จะอยู่ที่เซกเตอร์แรกสุดของฮาร์ดดิสก์ MBR จะประกอบด้วยสองส่วน คือ IPL (Initial Program Loader) ขนาด 446 Byte เป็นพื้นที่ที่โปรแกรมบูทโหลดเดอร์ (โปรแกรมจัดการการบูท)ของลีนุกซ์จะไปติดตั้งอยู่ ใช้ในการบูทของลีนุกซ์
Partition table ขนาด 64 Byte และ MBR Sinature อีก 2 Byte

แสดงส่วนประกอบของ MBR

การสร้างพาร์ติชันให้กับฮาร์ดดิสก์ มี 3 แบบ คือ Primary, Extended และ Logical ในการสร้างพาร์ติชันฮาร์ดดิสก์ ถ้าเราสร้างทุกพาร์ติชันให้เป็น Primary ทั้งหมด จะสร้างได้เพียง 4 พาร์ติชันเท่านั้น

แสดงการพาร์ติชันที่เป็น Primary พาร์ติชันทั้งหมด

ถ้าต้องการมากกว่านั้นต้องใช้ 1 พาร์ติชันเป็น Extended แล้ว แบ่งย่อย Extended เป็น Logical ตัวอย่างดังภาพ ที่ 2.3 และ 2.4

แสดง ตัวอย่างการแบ่ง Partition แบบที่ 1 ใช้พาร์ติชันที่ 4 เป็น
แสดงตัวอย่างการแบ่ง Partition แบบ ที่ 2 ใช้พาร์ติชันที่ 2 เป็น Extended

ลีนุกซ์เคอร์เนลมีข้อจำกัดในการจัดการพาร์ติชันที่เป็นฮาร์ดดิสก์ IDE ได้ 63 พาร์ติชัน ฮาร์ดดิสก์ SCSI จะได้ 15 พาร์ติชัน พาร์ติชันแรกของ Logical partition จะเป็น Partition ที่ 5 เสมอ

การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์ที่เชื่อมต่อกับลีนุกซ์ มีชื่อเรียกต่างๆ กันไปตามชนิดของฮาร์ดดิสก์ หรือเซิร์ฟเวอร์บางยี่ห้อก็มีชื่อเรียกแปลกๆ ไปตามการ์ด RAID ซึ่งพบได้น้อย จะเรียกชื่อฮาร์ดิสก์ตามชนิดฮาร์ดดิสก์มากกว่า เช่นฮาร์ดดิสก์ IDE การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์ IDE ขึ้นกับการเชื่อมต่อกับตำแหน่งของสาย IDE ดังนี้

Primary Master เรียกว่า /dev/hda
Primary Slave เรียกว่า /dev/hdb
Secondary Master เรียกว่า /dev/hdc
Secondary Slave เรียกว่า /dev/hdd
ลำดับที่ของ พาร์ติชันของฮาร์ดดิสก์ลำดับที่เท่าไหร่ก็จะเรียก /dev/hda1, /dev/hda2 …, /dev/hdb1, /dev/hdb2…,
/dev/hdc1, /dev/hdc2…

ฮาร์ดดิสก์ SCSI จะเรียกชื่อตาม SCSI ID
SCSI ID 0 เรียกว่า /dev/sda
SCSI ID 1 เรียกว่า /dev/sdb
SCSI ID 2 เรียกว่า /dev/sdc
SCSI ID 3 เรียกว่า /dev/sdd
SCSI ID.. เรียกว่า /dev/sd…

เรื่อยๆไปตามจำนวนฮาร์ดดิสก์ที่สามารถใส่ได้ของ SCSI แต่ถ้าฮาร์กดิสก์ SCSI ที่ทำ RAID รวมฮาร์ดดิสก์หลายก้อนเป็นก้อนเดียว ก็เปรียบเสมือนมีฮาร์ดดิสก์ก้อนเดียว เรียกชื่อเป็น /dev/sda ลำดับที่ของพาร์ติชันก็เช่นเดียวกันกับฮาร์ดดิสก์แบบ IDE เช่น /dev/sda1, /dev/sda2…, /dev/sdb1, /dev/sdb2…, /dev/sdc1, /dev/sdc2… ส่วน ฮาร์ดดิสก์ SATA ก็จะเรียกชื่อเหมือนกับฮาร์ดดิสก์ SCSI

Unified Extensible Firmware Interface (UEFI)}

เมื่อ ฺBIOS ที่ใช้ MBR ในการจัดการฮาร์ดิสก์ มีข้อจำกัด ที่ 4 Primary Partition และจัดการดิสก์ได้ไม่เกิน 2 TฺB แต่ฮาร์ดแวร์ก็พัตนาไม่หยุด เพื่อหยุดแก้ไขข้อจำกัดเหล่านี้ ก็จำเป็นต้องมี UEFI

\noindent \textbf{EFI (Extensible Firmware Interface)}

ประมาณปี 2000 อินเทลก็ได้มีการพัฒนาเฟิร์มแวร์ที่คอยทำหน้าที่เชื่อมต่อกับส่วนประกอบฮาร์ดแวร์ขึ้นใหม่แล้วและรู้จักกันทั่วไปในชื่อที่เรียกว่า EFI (Extensible Firmware Interface)

ถึงปี 2005 บริษัทสำคัญๆ อาทิ Intel, AMD, Apple, Dell, HP และ Microsoft ก็ได้มีการรวมตัวกันจัดตั้งฟอรัม Unified EFI เพื่อกำหนดมาตรฐานและรายละเอียดที่แน่นอนของเฟิร์มแวร์แบบใหม่นี้ จนกระทั่งเฟิร์มแวร์อินเทอร์เฟสที่มีชื่อว่า UEFI

UEFI (Unified Extensible Firmware Interface)

UEFI เป็นส่วนติดต่อเฟิร์มแวร์มาตรฐานสำหรับพีซีที่ออกแบบมาเพื่อใช้แทน BIOS (Basic Input/Output System) มาตรฐานนี้สร้างขึ้นโดยบริษัทด้านเทคโนโลยีกว่า 140 บริษัทโดยเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท UEFI รวมทั้ง Microsoft ด้วย
เฟิร์มแวร์นี้ได้รับการออกแบบขึ้นเพื่อปรับปรุงความสามารถในการทำงานร่วมกันของซอฟต์แวร์และเพื่อแก้ไขข้อจำกัดต่างๆ ของ BIOS

ข้อดีของ UEFI

GUID Partition Table (GPT)

การเรียกชื่อฮาร์ดดิสก์แบบ GPT
การเรียกชื่อจะเป็ยแบบเดียวกับฮาร์ดิสก์ตระกูล SCSI /dev/sda /dev/sdb /dev/sd… ส่วนดำดับพาร์ติชันก็จะเป็น /dev/sda1 /dev/sda2 /dev/sda…

แหล่งดาวน์โหลด CentOS

CentOS มีให้ดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของ CentOS http://www.centos.org/download
หรือจะดาวน์โหลดเว็บไซต์ในประเทศไทยของเรา เช่น
http://mirror1.ku.ac.th http://mirror1.ku.ac.th/centos-cd-dvd

https://www.centos.org/download/
http://mirror1.ku.ac.th/

CentOS 8 รองรับ CPU 64 bit เท่านั้น ไม่ได้ทำมาสำหรับ CPU 32 bit

การนำไฟล์ .iso มาใช้งาน
เมื่อดาวน์โหลดไฟล์ CentOS-8-x86_64-1905-dvd1.iso มาแล้วก็สามารถนำไปใช้ติดตั้งบน VirtualBox หรือ Vmware ได้เลย

แสดงการนำไฟล์ .ISO ไปติดตั้งใน VirtualBox

ถ้าจะไปติดตั้งจริงบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องพีซี หรือโน้ตบุ๊ค ก็จำเป็นต้องเขียนไฟล์นี้ลงแผ่น DVD ก่อน
ด้วยโปรแกรมเขียนแผ่น CD/DVD โดยไปที่เมนู Burn Image ดังภาพ

แสดงโปรแกรม Nero

บนลีนุกซ์อาจใช้โปรแกรม K3B หรือ Brasero ในที่นี้จะยกตัวอย่างโปรแกรม K3B เลือกเมนู ฺBurn Image

โปรแกรม K3B

เมื่อได้แผ่น DVD ที่เขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะนำไปติดตั้ง หรือจะสร้างตัวติดตั้งด้วยอุปกรณ์ USB เช่น สร้างด้วยโปรแกรม Unetbootin ซึ่งมีทั้งบน Linux Windows และ MacOS

โปรแกรม UNetbootin

พร้อมแล้วสำหรับการติดตั้ง CentOS 8

Facebook Comments
Exit mobile version